หัวข้อ: ปลากดเหลือง ปลาเฉพาะถิ่น เนื้อนิ่ม เกษตรกรเลี้ยงกระชังขาย ราคาดี เริ่มหัวข้อโดย: Nuch Jiraporn ที่ ธันวาคม 30, 2021, 02:58:19 PM เส้นทางที่ลำน้ำในคลองอู่ตะเภาไหลผ่านจากอำเภอสะเดา เป็นเส้นทางที่พุ่งตรงเข้าไปยังตัวอำเภอหาดใหญ่ออกสู่ทะเล ระยะทางยาวมากพอจะเป็นลำน้ำที่มีระบบนิเวศอุดมสมบูรณ์ จนผู้คนที่อาศัยอยู่ตามแนวคลองอู่ตะเภา มีวิถีที่เรียกได้ว่าอาศัยลำน้ำสายนี้เพื่อดำรงชีพ
(https://www.technologychaoban.com/wp-content/uploads/2019/04/1-20.jpg) คุณจารีต ขุนทอง จับปลานิลที่ถูกนากกัดปลาใกล้ตาย ปลาชนิดหนึ่งในคลองอู่ตะเภา เรียกได้ว่า เป็นปลาพื้นถิ่นที่พบในคลองอู่ตะเภา ในอดีตพบมาก แต่ปัจจุบันลดจำนวนลงตามสภาพภูมิประเทศที่เปลี่ยนแปลงไป คือ ปลากดเหลือง ชาวบ้านนิยมนำมาประกอบอาหาร โดยเฉพาะการทอด และนำไปใส่ในแกงเหลือง หรือแกงส้มของภาคใต้ ด้วยคุณสมบัติของเนื้อปลาที่มีไขมันมาก เนื้อนิ่ม หนังปลามีสีเหลือง เป็นปลาที่จัดอยู่ในกลุ่มปลาหนัง เรียกว่า ปลากด ซึ่งปลากดมีหลายชนิด ผิวหนังที่เป็นสีเหลือง จึงเรียกปลาชนิดนี้ว่า ปลากดเหลือง เมื่อปลากดเหลืองลดจำนวนลงจากแหล่งน้ำที่เป็นที่อยู่อาศัยลงไปมาก เหลือเพียงน้อยนิด แนวคิดอนุรักษ์ปลากดเหลืองจึงเริ่มขึ้น โดยศูนย์วิจัยและพัฒนาประมงน้ำจืดสงขลา นำพันธุ์ปลากดเหลืองมาเพาะและขยายพันธุ์ เพื่อขายหรือแจกจ่ายให้กับเกษตรกรที่สนใจเลี้ยง ส่วนหนึ่งเพื่อการอนุรักษ์ให้ปลากดเหลืองยังคงมีอยู่ และเพื่อส่งเสริมให้เกษตรกรมีอาชีพอีกทาง (https://www.technologychaoban.com/wp-content/uploads/2019/04/2-19-1024x768.jpg) ปลากดเหลือง ไซซ์กำลังเหมาะสำหรับทำอาหาร คุณจารีต ขุนทอง เกษตรกรทำสวนยาง ชาวตำบลพังลา อำเภอสะเดา จังหวัดสงขลา มีพื้นที่ส่วนหนึ่งอยู่ติดคลองอู่ตะเภา ยามว่างจากการทำสวนยาง ก็นัดแนะกับเพื่อนลงทุนเลี้ยงปลานิลและปลาทับทิมในกระชัง เลี้ยงพอเป็นรายได้เสริมมานานเกือบ 30 ปี การเลี้ยงปลาทับทิมและปลานิล จับขายได้ไม่มากนัก รอบละ 2-3 ตัน มีพ่อค้าแม่ค้ามารับซื้อถึงหน้ากระชัง และขายในพื้นที่จังหวัดสงขลาเพียงแห่งเดียว ปัจจุบัน ยังคงเห็นปลานิลและปลาทับทิม เลี้ยงกระชังในลำน้ำอู่ตะเภาตามเดิม แต่ที่คุณจารีต เป็นที่รู้จักกว้างขวางออกไปในหลายจังหวัด ก็เพราะคุณจารีต เริ่มเลี้ยงปลากดเหลืองในกระชังมานานกว่า 10 ปี เริ่มเลี้ยงมาตั้งแต่ยุคที่ปลากดเหลืองเริ่มลดจำนวนลง กระทั่งศูนย์วิจัยและพัฒนาประมงน้ำจืดสงขลา เพาะขยายพันธุ์เพื่อส่งเสริมให้เกษตรกรเลี้ยง และเพื่ออนุรักษ์ปลาพื้นถิ่น (https://www.technologychaoban.com/wp-content/uploads/2019/04/3-13-1024x684.jpg) กระชังปลาในคลองอู่ตะเภา ปัญหาในอดีต คือ ปลากดเหลืองหาพันธุ์มาเพาะยาก แต่ปัจจุบัน พันธุ์ปลากดเหลืองสามารถขอซื้อจากศูนย์วิจัยและพัฒนาประมงน้ำจืดสงขลาได้ แต่ปัญหาที่พบคือ การเลี้ยงปลากดเหลืองให้ผ่านช่วงอนุบาลปลาทำได้ยาก คุณจารีต บอกว่า ราว 10 ปีก่อน พันธุ์ปลากดเหลืองหายาก แต่การเลี้ยงไม่ว่าจะเลี้ยงในบ่อดินหรือกระชัง อัตราการรอดสูงถึง ร้อยละ 70-80 แต่ปัจจุบัน ปัญหาในการเลี้ยงปลากดเหลืองเปลี่ยนไป ปัญหาการหาพันธุ์เพื่อมาเพาะเลี้ยงไม่ได้ยากอย่างที่คิด สามารถซื้อได้ตามแหล่งเพาะพันธุ์ปลาทั่วไป แต่ปัญหาที่ประสบและแก้ไขได้ยากกว่า คือ การเลี้ยงให้ปลาเจริญเติบโตผ่านช่วงวัยอนุบาลไป ?เมื่อก่อน หาพันธุ์มาเลี้ยงยาก แต่เดี๋ยวนี้ พันธุ์ปลากดเหลืองมีทั่วไป แต่เมื่อนำมาอนุบาลได้ประมาณ 1 เดือน จะเกิดปัญหาปลาตายไม่มีสาเหตุ อัตรารอดเหลือเพียงร้อยละ 30-40 เท่านั้น? การแก้ปัญหาอัตรารอดของปลากดเหลืองที่ลดน้อยลง คุณจารีต พยายามลองแก้ปัญหาครั้งแล้วครั้งเล่าตลอดระยะเวลา 10 ปีที่ผ่านมา ก็ไม่สำเร็จ และประเมินไม่ได้ว่าต้นเหตุของปัญหาอัตรารอดที่ลดน้อยลงคืออะไร จนเกิดความท้อ (https://www.technologychaoban.com/wp-content/uploads/2019/04/4-8-1024x684.jpg) การจับปลาขึ้นจากกระชัง เมื่อถามว่า อัตรารอดที่ลดลง เมื่อผ่านขั้นตอนการอนุบาลไปแล้ว จำนวนปลาที่เหลืออยู่เจริญเติบโตจนสามารถจับขายได้ มีความคุ้มทุนไหม คุณจารีต ตอบว่า คุ้มทุน เพราะตลาดต้องการปลากดเหลืองทุกไซซ์ ยิ่งไซซ์ใหญ่ผู้บริโภคยิ่งชอบ เพราะเนื้อนิ่มและมีไขมันแทรกในเนื้อมาก ธรรมชาติของปลากดเหลือง เป็นปลาหนังที่อาศัยอยู่ใต้น้ำ กินเนื้อเป็นอาหาร เมื่อนำมาเลี้ยงในกระชัง ก็เป็นการเปลี่ยนพฤติกรรมปลา โดยการให้อาหารเม็ดสำเร็จรูปที่มีส่วนผสมของโปรตีนไม่ต่ำกว่า 40 เปอร์เซ็นต์ วันละมื้อ ปลากดเหลืองต้องขึ้นมาผิวน้ำเพื่อกินอาหาร และลงไปอยู่ใต้น้ำตามเดิม วิธีการเลี้ยงให้ใกล้เคียงกับธรรมชาติมากที่สุด ยกเว้นการกินอาหารเท่านั้น เพราะอัตราการรอดน้อย ทำให้ปลากดเหลืองหายาก ราคาจึงค่อนข้างแพง คุณจารีต ขายปลากดเหลืองจากหน้ากระชัง ราคากิโลกรัมละ 180 บาท (https://www.technologychaoban.com/wp-content/uploads/2019/04/5-8-1024x684.jpg) ขนาดไซซ์ปลากดเหลืองที่ตลาดต้องการมาก คือ ขนาดน้ำหนัก 300 กรัม ปลากดเหลืองไม่เหมือนปลาชนิดอื่น ยิ่งไซซ์ใหญ่มากเท่าไหร่ ก็ขายได้ ไม่มีคำว่าปลาแก่ เพราะเนื้อปลากดเหลืองจะนิ่มมาก ไม่ว่าปลาจะมีอายุเท่าไหร่ หากพ่อค้าแม่ค้าทราบว่า กระชังไหนมีปลากดเหลือง จะติดต่อมาขอซื้อทันที สามารถจับขายได้ทุกวัน ไม่ต้องรอรอบจับเหมือนปลาชนิดอื่น การแก้ปัญหาอัตรารอดของปลากดเหลือง เกษตรกรจำนวนหนึ่งยอมลงทุนซื้อปลากดเหลืองที่ไม่ต้องอนุบาลมาเลี้ยง เพื่อข้ามช่วงวัยที่มีปัญหาอัตรารอดน้อย แม้ต้นทุนจะอยู่ที่ตัวละ 7 บาท แต่เมื่อเลี้ยงโตแล้ว ราคาขายของปลากดเหลืองก็ช่วยทำให้ไม่ขาดทุนจากต้นทุนที่ลงทุนไป (https://www.technologychaoban.com/wp-content/uploads/2019/04/6-8-1024x768.jpg) ปลากดเหลือง สำหรับขนาดกระชังปลา ส่วนใหญ่ผู้เลี้ยงจะสร้างขนาดกระชังไม่ใหญ่ มี 2 ขนาด ที่นิยม คือ ขนาดกว้าง 4 เมตร ยาว 4 เมตร ลึก 2 เมตร และขนาดกว้าง 5 เมตร ยาว 5 เมตร ลึก 2 เมตร เมื่อถามถึงโรคในปลากดเหลืองที่พบ คุณจารีต บอกว่า ตั้งแต่เลี้ยงปลาในกระชังมาเกือบ 30 ปี ยังไม่พบโรคที่ก่อให้เกิดปัญหาให้สูญเสีย แต่ความสูญเสียที่พบคือ มีสัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำที่เรียกว่า นาก ซึ่งอาศัยอยู่ในป่าตามแนวคลองอู่ตะเภา กินปลาเป็นอาหาร มักจะมาลักลอบกัดปลาในกระชัง เมื่อปลาตายก็นำไปกินเป็นอาหาร เพราะปลากดเหลืองเป็นปลาที่สามารถขายได้ทุกไซซ์ ทำให้มีเกษตรกรหันมาเลี้ยงปลากดเหลืองจำนวนมาก เฉพาะในพื้นที่หมู่ 7 มีเกษตรกรเลี้ยงปลากดเหลืองในกระชังมากถึง 23 ราย และประสบปัญหาเดียวกัน คือ อัตรารอดในช่วงอนุบาลน้อย แต่ก็ถือว่าเป็นรายได้เสริมที่ทำเงินให้ดีทีเดียว นอกจากนี้ กระชังปลาของคุณจารีต ยังถือเป็นกระชังต้นแบบที่มีวิธีการเลี้ยงใกล้เคียงกับธรรมชาติมากที่สุด หากสนใจเยี่ยมชมกระชังปลากดเหลืองธรรมชาติ ติดต่อสอบถามเข้ามาก่อนได้ที่ คุณจารีต ขุนทอง โทรศัพท์ (089) 728-6147 ฟาร์มปลากดเหลือง ตั้งอยู่ที่ หมู่ 7 ตำบลพังลา อำเภอสะเดา จังหวัดสงขลา การเลี้ยงปลากดเหลือง คลองอู่ตะเภา เป็นสายน้ำที่ใหญ่ที่สุดจังหวัดสงขลา มีจุดเริ่มต้นจากชายแดนไทย-มาเลเซีย และไหลลงสู่ทะเลสาบสงขลาตอนล่าง ความยาวทั้งสิ้น 120 กิโลเมตร (https://www.technologychaoban.com/wp-content/uploads/2019/04/7-5-684x1024.jpg) ปัจจุบัน คุณภาพน้ำในคลองอู่ตะเภายังมีความเหมาะสมต่อการเลี้ยงปลาน้ำจืดในกระชัง จึงมีการส่งเสริมให้มีการเลี้ยงปลาน้ำจืดในกระชัง เพื่อแก้ปัญหารายได้ไม่เพียงพอของเกษตรกร ซึ่งจากการติดตามการเลี้ยงปลากดเหลืองในกระชังของเกษตรกร พบว่า ผู้เลี้ยงปลากดเหลืองในกระชังส่วนใหญมีรายได้เพิ่มขึ้นจากการเลี้ยงปลากดเหลือง ไม่น้อยกว่า 10,000 บาท ต่อรอบการเลี้ยง ต่อกระชัง ต่อครัวเรือน สำหรับวิธีเลี้ยง ชาวบ้านจะสร้างกระชังโดยใช้ไม้ไผ่และเหล็กเป็นโครงสร้าง ขนาด 4x4x2 และขนาด 5x5x2 ใช้ตาข่ายความถี่ 2-3 เซนติเมตร ใช้ถัง 200 ลิตร ทำเป็นทุ่นเพื่อให้กระชังลอยได้ตามระดับน้ำ พันธุ์ลูกปลากดเหลือง ซื้อมาจากแหล่งเพาะพันธุ์ทั้งของหน่วยงานราชการและเอกชนที่มีฟาร์มเพาะเลี้ยงโดยตรง ราคาตัวละ 75 สตางค์ จนถึง 2 บาท ปล่อยลูกปลากระชังละ 800-1,000 ตัว การปล่อยลูกปลาแต่ละกระชังต้องให้อายุห่างกัน จะทำให้สามารถจับปลาขายได้ตลอดทั้งปี (https://www.technologychaoban.com/wp-content/uploads/2019/04/9-4.jpg) ช่วงลูกปลาเล็กหรืออนุบาล จะให้อาหารเดียวกันกับที่ใช้เลี้ยงลูกกบ เมื่อปลาเริ่มโตขึ้นจะให้อาหารชนิดเม็ดซึ่งมีอยู่ 3 สูตร ตามการเจริญเติบโตและอายุของปลา ให้ใส้ไก่สดเป็นอาหารเสริม ใช้เวลาเลี้ยงราว 6-9 เดือน ก็สามารถจับขายได้ ขนาดที่ตลาดต้องการมากที่สุด ตัวละ 800 กรัม ? 1 กิโลกรัม โดยเฉลี่ยชาวบ้านแต่ละรายจะมีรายได้กระชังละ 5-6 หมื่นบาท ต่อรุ่น (https://www.technologychaoban.com/wp-content/uploads/2019/04/10-2.jpg) นอกจากปลากดเหลืองที่ชาวบ้านนิยมเลี้ยงกันมากแล้ว ยังมีการเลี้ยงปลาทับทิม ปลานิล และปลาสวายควบคู่กันไปด้วย เนื่องจากระยะในเวลาการเลี้ยงสั้น 3-4 เดือน ถือเป็นรายได้เสริมระหว่างที่รอปลากดเหลืองโต (https://www.technologychaoban.com/wp-content/uploads/2019/04/10-2.jpg) เผยแพร่ในระบบออนไลน์เป็นครั้งแรก เมื่อวันอังคารที่ 13 สิงหาคม พ.ศ.2562 ข้อมูลจาก https://www.technologychaoban.com/fishery-technology/article_105022 |