โปรตีนสกิมเมอร์สำหรับการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำเชิงพาณิชย์ ภรัณยู ถมพลกรัง ไวทัศน์ หนูกล่ำ
- Details
- Hits: 4351
การเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ ไม่ว่าจะเป็นการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำสวยงามขนาดเล็ก หรือการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำเชิงพาณิชย์ขนาดใหญ่ นอกจากการให้อาหารเพื่อการเจริญเติบโตที่ดีของสัตว์น้ำแล้ว การจัดการคุณภาพน้ำถือเป็นเรื่องสำคัญที่ผู้เลี้ยงสัตว์น้ำต้องมีความรู้ความเข้าใจ เพื่อที่จะจัดการคุณภาพน้ำให้เหมาะสมกับสัตว์น้ำที่เลี้ยง โดย เฉพาะการกำจัดของเสียที่เกิดจากการเลี้ยงสัตว์น้ำ เช่น ขี้ปลา และเศษอาหาร ด้วยวิธีการเปลี่ยนถ่ายน้ำ หรือหากเป็นสารอินทรีย์ที่ไม่ละลายน้ำ
ทรงเสด็จเปิดสถาบันเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่งแห่งชาติ
- Details
- Hits: 2467
พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มหิตลาธิเบศรรามาธิบดี จักรีนฤบดินทร สยามินทราธิราช บรมนาถบพิตร และ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ได้ทรงเสด็จเปิดสถาบันเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่งแห่งชาติ เมื่อวันที่ 10 กันยายน 2524
การจำแนกชนิดเตตราไฮมีนา (Tetrahymena sp.) ที่พบในปลาหางนกยูง
- Details
- Hits: 4274
บทคัดย่อ
นำเตตราไฮมีนาที่แยกได้จากปลาหางนกยูงที่เป็นโรคตัวเปื่อยมาศึกษาเพื่อจัดจำแนกชนิดทางอนุกรมวิธาน โดยศึกษาลักษณะสันฐานวิทยา จากตัวอย่างสด และย้อมสี ตรวจดูลักษณะเซลล์ภายใต้กล้องจุลทรรศน์แบบใช้แสง (Light microscopy, LM) และนำเซลล์มาผ่านการเตรียมตัวอย่างเซลล์เพื่อศึกษารายละเอียดลักษณะรูปร่างให้ชัดเจนมากขึ้นด้วยกล้องจุลทรรศน์แบบส่องกราด (scanning electron microscopy, SEM)
ปรสิตในปลากะรังจุดส้ม (Epinephelus coioides) ที่เลี้ยงในกระชัง
- Details
- Hits: 3093
บทคัดย่อ
ทำการศึกษาปรสิตในปลากะรังจุดส้ม orange-spotted grouper (Epinephelus coioides) ที่เลี้ยงในกระชัง จังหวัดกระบี่ ทำการศึกษาจากตัวอย่างปลาขนาด 4 - 5 นิ้ว ก่อนปล่อยลงกระชังและเลี้ยงต่อไปจนถึง 10 เดือน เก็บตัวอย่างปลาเดือนละ 2 ครั้ง ๆ ละ 10 ตัวเป็นระยะเวลา 10 เดือน พบปรสิตภายนอกและภายในจำนวน 5 กลุ่ม ดังนี้ คือ
ลักษณะและคุณสมบัติของเซลล์ไลน์จากจระเข้
- Details
- Hits: 2689
บทคัดย่อ
ทำการแยกและเลี้ยงเซลล์จากตัวอ่อนของจระเข้ระยะที่ยังอยู่ในไข่ พบว่าเซลล์เจริญได้ดีในอาหาร Leibovitz-15 ที่มีซีรั่ม 10-15% และสามารถทำ subculture ได้ 154 passage อุณหภูมิที่เหมาะสมต่อการเจริญของเซลล์คือ 25o - 30o ซ เซลล์นี้ได้ตั้งชื่อว่า SCE (Siamese crocodile embryo) เป็นเซลล์ชนิด epithelium ไม่พบการปนเปื้อนของเชื้อไวรัส แบคทีเรีย เชื้อรา หรือไมโครพลาสมา เซลล์ SCE สามารถเก็บรักษาในสภาพแช่เยือกแข็งในถังไนโตรเจนเหลว (-190o ซ) เซลล์ SCE สามารถมีชีวิตอยู่และคงสภาพของ monolayer ได้นานกว่า 3 สัปดาห์ ที่อุณหภูมิ 27o ซ โดยไม่ต้องเปลี่ยนอาหารเลี้ยงเซลล์ เซลล์ SCE ยอมรับการติดเชื้อไวรัสและเกิดมีการเปลี่ยนแปลง cytopathic effect (CPE) จากเชื้อไวรัสดังต่อไปนี้ เชื้อแรบโดไวรัสที่แยกได้จากปลาป่วยเป็นโรคระบาด หรือ EUS เชื้ออิริโดไวรัสที่แยกได้จากกบและปลาบู่ และเชื้อ channel catfish virus (CCV) เซลล์ SCE ถึงแม้ว่าจะพัฒนามาจากจระเข้ แต่สามารถที่จะนำมาใช้เพาะเชื้อไวรัสที่ก่อโรคในปลา และกบได้ดี
สภาวะสัตว์น้ำรอบทะเลสาบสงขลา เดือนกันยายน 2559
- Details
- Hits: 2014
และแล้วก็ถึงสิ้นปี (งบประมาณข้าราชการ) จนได้ แต่ไม่ว่าจะสิ้นปีหรือสิ้นเดือน สำหรับบางคนก็เหมือนจะสิ้นใจอยู่วันยังค่ำ ไล่มาตั้งแต่ชะอวดช่วงนี้ทั้งเงียบทั้งเหงา แม่ค้านั่งหาวนอน แถวนี้เค้าถึงฟ้าถึงฝนกัน สัตว์น้ำจึงไม่ค่อยมี ที่จับได้เยอะก็เห็นจะมีแต่ปลาช่อน ส่วนแถวคูเต่าช่วงเดือนนี้ก็ดูจะเป็นปูดำที่ค่อนข้างหนาตา หันไปทางไหนก็ชูก้ามหราเต็มไปหมด
จำหน่ายลูกพันธุ์สัตว์น้ำ ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่ง เขต 6 สงขลา
- Details
- Hits: 53354
ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่ง เขต 6 (สงขลา) มีพันธุ์สัตว์น้ำจำหน่าย คือ ลูกปลากะพงขาว ลูกปลตะกรับ ลูกกุ้งทะเล และลูกกุ้งก้ามกราม หากท่านผู้ใดมีความประสงค์จะซื้อพันธ์ุสัตว์น้ำดังกล่าว ขอให้ติดต่อสั่งจองที่ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่ง เขต 6 (สงขลา) เลขที่ 1/19 หมู่ที่ 3 ถนนเก้าแสน ตำบลเขารูปช้าง อำเภอเมือง จังหวัดสงขลา