จุดแข็ง Strength
1. บุคลากรมีความรู้ ความสามารถด้านการเพาะเลี้ยงสัตว์ น้ำชายฝั่ง
2. มีพื้นที่ที่เหมาะสมรองรับต่อการพัฒนางานวิจัยด้านเพาะเลี้ยง สัตว์น้ำชายฝั่ง
3.มีระบบการทำงานที่บูรณาการภายในองค์กรได้อย่างไรรวดเร็วและทั่วถึง
4.สัตว์น้ำชายฝั่งที่ได้จากการเพาะเลี้ยงมีมูลค่าทางเศรษฐกิจและสร้างรายได้ระดับต้น ๆ ของประเทศ
5. มีกระบวนการตรวจสอบวัตถุดิบสัตว์น้ำชายฝั่งที่ส่งออกได้มาตรฐาน
6. บุคลากรมีทัศนคติที่ดีต่อองค์กร
จุดอ่อน Weaknesses
1. นโยบายด้านงานขาดความชัดเจน ไม่ต่อเนื่องและบางส่วนไม่ตอบสนองต่อ ความต้องการของเกษตรกร
2. ผู้วิจัยทำงานด้านงานบริการ การแก้ปัญหาเฉพาะหน้า มากกว่างานวิจัย
3. ขาดแรงจูงใจในการปฏิบัติงานทางด้านงานวิจัย
4. สิ่งก่อสร้าง เครื่องมืออุปกรณ์ ชำรุดและล้าสมัย ในการปฎิบัติงาน
5. ขาดแคลนบุคลากรที่มีความเชี่ยวชาญด้านการพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรมการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่ง
6.บุคลากรขาดความรู้ความเข้าใจในการนำกฏหมายและระเบียบที่เกี่ยวข้องไปปฏิบัติ
7.ขาดการประชาสัมพัน
โอกาส Opportunity
1. ค่านิยมในการบริโภคสัตว์น้ำเพื่อสุขภาพมีมากขึ้น
2.การผลิตสัตว์น้ำจากการเพาะเลี้ยงมีความสำคัญมากขึ้นเพื่อทดแทนการจับจากธรรมชาติ
3. สินค้าสัตว์น้ำเป็นที่ต้องการของตลาโลก
4. ภูมิประเทศและภูมิอาการเหมาะสมต่อการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ
5.มีเทคโนโลยีสารสนเทศสามารถเข้าถึงแหล่งความรู้ด้านการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่งได้สะดวก
6. มีสิ่งอำนวยความสะดวกด้านการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่งตลอดห่วงโซ่อุปทาน
7. รัฐบาลมีนโยบายให้เพิ่มประสิทธิภาพผลผลิตสัตว์น้ำของประเทศ
อุปสรรค Threat
1. กฏระเบียบบางประการไม่เอื้อต่อการปฏิบัติงาน
2. งานที่ได้รับมอบหมายและงานสนับสนุนมากว่างงานภารกิจหลัก
3. การเกิดภัยธรรมชาติจากการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศโลกมีรุนแรงมากขึ้น และไม่สามารถคาดการณ์ล่วงหน้าได้
4. การขยายตัวของซุมซนและอุตสาหกรรมมีผลกระทบต่อพื้นที่และ คุณภาพแหล่งน้ำที่ใช้ในการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่ง
5. มีมาตรการกีดกันทางการค้าที่ไม่ใช่ภาษีเพิ่มขึ้น
6. เกษตรกรผู้เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำบางส่วนขาดความเข้าใจและไม่ยอมรับกฏระเบียบ