ต้องยอมรับว่าการเลี้ยงกุ้งในปัจจุบันเกษตรกรมักจะมีความกังวลในเรื่องของโรคต่างๆ ที่เกิดขึ้นในช่วงการเลี้ยง หรือแพร่ระบาดอย่างรุนแรงในแต่ละช่วงของฤดูกาล ไม่ว่าจะเป็นโรคที่เกิดจากเชื้อไวรัส แบคทีเรีย และปรสิต โดยเฉพาะโรคที่เกิดจากเชื้อไวรัสที่ยังไม่มีทางรักษา เรียกได้ว่าเป็นขึ้นมาคงต้องจับกันอย่างเดียว รวมไปถึงการจัดการที่ดีเพื่อป้องกันมิให้ไวรัสแพร่กระจายไปบ่ออื่นหรือแหล่งน้ำธรรมชาติ
ทั้งนี้ยังจะรวมไปถึงปัจจัยจ่างๆ ที่มีผลต่อการเกิดโรคของกุ้งด้วยเช่นกันไม่ว่าจะเป็นคุณภาพลูกกุ้ง คุณภาพน้ำ การจัดการฟาร์มการดูแลระหว่างการเลี้ยง ต่างก็เป็นปัจจัยที่จะส่งผลให้กุ้งเสี่ยงต่อการเกิดโรคได้ทั้งนั้นถ้าเราขาดการดูแลเอาใจใส่ เราจะมาดูกันว่าในการเลี้ยงกุ้งในปัจจุบันนี้มีโรคอะไรบ้าง เพื่อให้เกษตรกรได้รับความรู้ความเข้าใจ และแต่ละชนิดเป็นยังไง
โรคกุ้งแบ่งเป็น 3 กลุ่มใหญ่ ได้แก่
- โรคที่เกิดจากเชื้อไวรัส
- โรคที่เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย
- โรคที่เกิดจากปรสิต
1. โรคที่เกิดจากเชื้อไวรัส
ลักษณะดวงขาวบริเวณใต้เปลือก
1.1 โรคตัวแดงดวงขาว
- สาเหตุของโรค เชื้อไวรัส White Spot Syndrom Virus (WSSV) ชนิด DNA
- อาการ พบดวงขาวบริเวณใต้เปลือกส่วนหัวและลำตัว ลำตัวกุ้งมีสีแดง มีอัตราการตายสูงถึง 100% ภายใน 3-5 วัน
- การระบาดของโรค พ่อแม่พันธุ์ พาหะ น้ำ
- การรักษา ยังไม่พบวิธีการรักษาที่แน่นอน แต่สามารถป้องกันได้
1.2 โรคกล้ามเนื้อขาวขุ่น
- สาเหตุของโรค เชื้อไวรัส Infecious Myonecrosis Virus (IMNV)
- อาการ กล้ามเนื้อขาวขุ่นบริเวณปล่องสุดท้ายติดกับแพนหาง กุ้งบางตัวจะมีกล้ามเนื้อเป็นสีส้ม มีอัตราการตายสูงถึง 70 %
- การระบาดของโรค พ่อแม่พันธุ์(แต่ยังไม่แน่ชัด) พาหะ น้ำ
- การรักษา ยังไม่พบวิธีการรักษาที่แน่นอน แต่สามารถป้องกันได้
ภาพจาก www.siamMarine.con
1.3 โรคหัวเหลือง
- สาเหตุของโรค เชื้อไวรัส Yellow Head Virus (YHV) ชนิด SS RNA
- อาการ ลำตัวซีด บริเวณส่วนหัวมีสีเหลืองชัดเจน(ตับและตับอ่อน) เกยขอบบ่อ กินอาหารเพิ่มผิดปกติหลังจากนั้นจะเริ่มลดลง มีอัตราการตายสูงถึง 100% ภายใน 3-5 วัน
- การระบาดของโรค พ่อแม่พันธุ์ พาหะ น้ำ
- การรักษา ยังไม่พบวิธีการรักษาที่แน่นอน แต่สามารถป้องกันได้
ภาพจาก http://www.aquathai.org
1.4 โรคทอร่า
- สาเหตุของโรค เชื้อไวรัส Taura Syndrome Virus ชนิด RNA ชื่อ TSV
- อาการ พบ 3 ระยะ ได้แก่
- ระยะรุนแรง มีสีแดงเข้มที่เปลือกกุ้ง โดยเฉพาะบริเวณแพนหาง และรยางค์อื่น บริเวณหางมีสีแดงเข้มกว่าปกติ ลำตัวมีสีแดง ลอกคราบแล้วนิ่มตาย
- ระยะฟื้นตัว กุ้งที่รอดตายจากการติดเชื้อ จะมีรอยแผลสีดำที่เปลือก
- ระยะเรื้อรัง กุ้งลอกคราบสำเร็จ ไม่พบจุดสีดำ แต่กุ้งกลายเป็นพาหะนำโรค
- การระบาดของโรค พ่อแม่พันธุ์ พาหะ น้ำ
- การรักษา ยังไม่พบวิธีการรักษาที่แน่นอน แต่สามารถป้องกันได้
ภาพจาก http://www.aquathai.org
1.5 โรคไวรัสเอ็มบีวี
- สาเหตุของโรค เชื้อไวรัส Monodon Baculovirus (MBV)
- อาการ กุ้งโตช้า ยังไม่พบความรุนแรงที่แน่นอน
- การระบาดของโรค พ่อแม่พันธุ์ พาหะ น้ำ
- การรักษา ยังไม่พบวิธีการรักษาที่แน่นอน แต่สามารถป้องกันได้
ภาพจาก www.fisheries.go.th
1.6 โรคแคระแกร็น
- สาเหตุของโรค เชื้อไวรัส Infectious Hepatopancreatic Hemopoietic Necrosis Virus (IHHNV) DNA
- อาการ กุ้งแคระแกร็น โตช้า กรีคดงอ
- การระบาดของโรค พ่อแม่พันธุ์ พาหะ น้ำ
- การรักษา ยังไม่พบวิธีการรักษาที่แน่นอน แต่สามารถป้องกันได้
www.fisheries.go.th
2. โรคที่เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย
2.1 โรคเรืองแสง
- สาเหตุของโรค เชื้อแบคทีเรีย Vibrio Harveyi
- อาการ เรืองแสงในเวลากลางคืน ลอยขอบบ่อ พบการตายสูงในกุ้งวัยอ่อนถึงวัยรุ่นกินอาหารลดลง
- การระบาดของโรค คุณภาพน้ำไม่ดี พื้นบ่อเน่าเสีย เหมาะกับการเจริญเติบโตของเชื้อโรค
- การรักษา ใส่ยาฆ่าเชื้อในบ่อ ใช้ยาปฏิชีวนะที่กรมประมงกำหนดผสมอาหารให้กินดูแลคุณภาพน้ำและพื้นบ่อให้ดีสม่ำเสมอ
www.fisheries.go.th
2.2 โรควิบริโอ
- สาเหตุของโรค เชื้อแบคทีเรียกลุ่ม Vibrio ได้แก่ V.harveye, V.parahaemolyticus, V.alginolyticus
- อาการ ตับอักเสบซีดเหลืองโต หางกร่อน กินอาหารลดลง ทยอยตาย
- การระบาดของโรค คุณภาพน้ำไม่ดี พื้นบ่อเน่าเสีย เหมาะกับการเจริญเติบโตของเชื้อโรค
- การรักษา ใส่ยาฆ่าเชื้อในบ่อ ใช้ยาปฏิชีวนะที่กรมประมงกำหนดผสมอาหารให้กินดูแลคุณภาพน้ำและพื้นบ่อให้ดีสม่ำเสมอ
www.fisheries.go.th
2.3 โรคขี้ขาว
- สาเหตุของโรค เชื้อแบคทีเรียกลุ่ม Vibrio
- อาการ กินอาหารลดลง ตัวหลวมกรอบแกรบ โตช้าแตกไซด์ มีขี้ขาวลอยให้เห็นเป็นจำนวนมากบริเวณผิวน้ำ
- การระบาดของโรค คุณภาพไม่ดี พื้นบ่อเน่าเสีย เหมาะกับการเจริญเติบโตของเชื้อโรค
- การรักษา ดูแลคุณภาพน้ำและพื้นบ่อให้ดีสม่ำเสมอ ใส่จุลินทรีย์ปรับสภาพน้ำเป็นประจำ ใช้โปรไบโอติกผสมอาหารให้กุ้งกินเป็นประจำทุกวัน
2.4 โรค EMS
- สาเหตุของโรค เชื้อแบคทีเรียกลุ่ม Vibrio
- อาการ กุ้งสีซีด ตัวขาวขุ่น เปลือกนิ่ม ตับฝ่อ
- การระบาดของโรค คุณภาพน้ำไม่ดี พื้นบ่อเน่าเสีย เหมาะกับการเจริญเติบโตของเชื้อโรค
- การรักษา เนื่องจากเกิดการตายอย่างรวดเร็วจึงไม่สามารถรักษาทัน แต่ป้องกันได้
3. โรคที่เกิดจากปรสิตภายในและภายนอก
3.1 ปรสิตภายนอก ซูโอแทมเนียม (Zoothamnium sp.)
- สาเหตุของโรค ปรสิตภายนอก ซูโอแทมเนียม
- อาการ เกิดจากการเกาะทำลายของปรสิตภายนอก ซูโอแทมเนียม ที่บริเวณเหงือกและลำตัวกุ้ง ทำให้เหงือกเป็นสีน้ำตาล หรือ ดำ ถ้าเป็นมากลำตัวกุ้งจะสกปรกคล้ายโคลนเกาะ ลอกคราบไม่ออก บางครั้งพบกุ้งตาย
- การระบาดของโรค คุณภาพน้ำไม่ดี พื้นบ่อเน่าเสีย เหมาะกับการเจริญเติบโตของเชื้อโรค
- การรักษา ใช้ยากำจัดซู ฟอกน้ำ ฟอกเหงือก ฟอกตัวกุ้ง
www.fisheries.go.th
3.2 ปรสิตภายในหรือพยาธิ กรีการีน (Gregarines)
- สาเหตุของโรค กรีการีนในทางเดินอาหาร
- อาการ กินอาหารลดลง กุ้งโตช้า
- การรักษา ใช้สารสกัดกระเทียมผสมอาหารให้กินเป็นประจำ
เรียบเรียงโดย ขวัญเรือน สุวรรณรัตน์
เอกสารอ้างอิง
นิตยสาร สัตว์น้ำ. เล่มที่ 348(6) สิงหาคม 2561. ISSN 0858-2386.
https://www.fisheries.go.th/shrimp/km/DiseaseShrimp&AntiBiotic.pdf